วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่4-9

 

สรุปบทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นงานใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านงบประมาณ ทรัพยากรขององค์การ และระยะเวลา แต่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบประสบความสำเร็จคือผู้ใช้ระบบจะต้องให้ข้อมูลแก่ทีมงานพัฒนาระบบในด้านต่างๆ โดยที่การพัฒนาระบบให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
1.ผู้นำและผู้ใช้ระบบมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ
2.การวางแผนพัฒนาระบบถูกดำเนินการอย่างถูกวิธี
3.มีแนวทางที่แน่นอนในการออกแบบและทดสอบชุดคำสั่ง
4.เอกสารที่ใช้ประกอบในกระบวนการพัฒนาระบบมีความสมบูรณ์
5.มีการวางแผนและฝึกอบรมผู้ใช้ระบบที่ดี
6.มีการตรวจสอบหลังการติดตั้งระบบใหม่เป็นระยะ
7.มีการวางแผนให้มีกระบวนการในการบำรุงรักษาที่ง่าย
8.การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต
ในการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ หรือที่เรียกว่า SA นั้นมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาระบบ หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบคือ การวางแผน การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบระบบ
โดยปกติทีมงานพัฒนาระบบประกอบด้วยบุคลดังต่อไปนี้ คณะกรรมการ ผู้จัดการระบบสารสนเทศ ผู้จัดการโครงการ นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลและผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป โดยที่การพัฒนาระบบจะสามารถทำได้อยู่ 4 วิธีคือ วิธีเฉพาะเจาะจง วิธีสร้างฐานข้อมูล วิธีจากล่างขึ้นบน และวิธีจากบนลงล่าง
การพัฒนาระบบสารสนเทศจะมีกระบวนการการพัฒนาระบบแบ่งได้ 5 ขั้นตอนคือ
1.การสำรวจเบื้องต้น
2.การวิเคราะห์ความต้องการ
3.การออกแบบระบบ
4.การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
5.การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
ซึ่งการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีกระบวนการหรือขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ดี ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมใช้ดังนี้ รูปแบบน้ำตก รูปแบบวิวัฒนาการ รูปแบบค่อยเป็นค่อยไป และรูปแบบเกลียว การปรับเปลี่ยนระบบ ทีมงานควรเลือกแนวทางที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง ซึ่งการปรับเปลี่ยนระบบสามารถกระทำได้ 4วิธี คือ กรปรับเปลี่ยนโดยตรง การปรับเปลี่ยนแบบขนาน การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ และการปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง






แบบฝึกหัดบทที่4
1. ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไรบ้าง
ตอบ ผู้จัดการที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์การและ/หรืเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานกับระบบสารสนเทศ ผู้ใช้จะเป็นบุคคลที่ใช้งานและปฏิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศโดยตรง เช่น จัดเก็บ ปรับปรุง ประมวลผลข้อมูล และนำข้อมูลมาใช้งาน เป็นต้น
2. ปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
ตอบ การพัฒนาระบบสารสนเทศให้สำเร็จต้องพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ผู้ใช้ระบบ สมควรต้องมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการพัฒนาระบบ โดยเฉพาะผู้นำหรือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญและมีอำนาจในกลุ่มผู้ใช้
2. การวางแผน ระบบงานที่มีประสิทธิภาพจะเกิดจากการวางแผนการพัฒนาระบบอย่างรอบคอบและเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เพราะการวางแผนที่เป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นจะสำเร็จลุล่วงด้วยดี
3. การทดสอบ ทีมงานพัฒนาระบบต้องการออกแบบกระบวนการดำเนินงานของระบบที่กำลังศึกษา
4. การจัดเก็บเอกสาร การพัฒนาระบบต้องมีระบบจัดเก็บเอกสารที่สมบูรณ์ ชัดเจนถูกต้อง ง่ายต่อการค้นหาและอ้างอิง
5. การเตรียมความพร้อม มีการวางแผนสร้างความเข้าใจและฝึกอบรมผุ้ใช้ระบบ
6. การตรวจสอบและประเมินผล โดยดำเนินการเป็นระยะๆ ภายหลังจากติดตั้งระบบเพื่อที่จะพิจารณาว่าระบบสารสนเทศใหม่มีความสมบูรณ์
7. การบำรุงรักษา ระบบสารสนเทศที่ดีไม่เพียงแต่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น
8. อนาคต เตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาการในอนาคต ทีมงานพัฒนาระบบสมควรออกแบบระบบให้มีความยืดหยุ่นและสามารถที่จะพัฒนาในอนาคต
3. หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง
ตอบ นักวิเคราะห์มีหน้าที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการ
อีกหลายหน้าที่ ดังนี้
1. ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่างๆ
2. รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
3. วางแผนในแต่ละขั้นตอนของงานให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน
4. ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ
5. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ
6. วิเคราะห์ข้อกำหนดด้านฐานข้อมูล
7. ทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบโดยละเอียด
8. กำหนดลักษณะของเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
9. สร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น
10. ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบ
11. จัดทำแบบสอบถามถึงผลการดำเนินงานของระบบใหม่
12. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ
13. เป็นผู้ให้คำปรึกษา ผู้ประสานงาน และผู้แก้ปัญหา ให้แก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับระบบ
4. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกัน
ตอบ ทีมงานพัฒนาระบบ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ และ/หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ ปกติทีมงานพัฒนาระบบจะประกอบไปด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการดำเนินงาน
2. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ
3. ผู้จัดการโครงการ
4. นักวิเคราะห์ระบบ
5. นักเขียนโปรแกรม
6. เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล
7. ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป
5. วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ มี 4 วิธีดังต่อไปนี้
1. วิธีเฉพาะเจาะจง
2. วิธีสร้างฐานข้อมูล
3. วิธีจากล่างขึ้นบน
4. วิธีจากบนลงล่าง
6. การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. การสำรวจเบื้องต้น
2. การวิเคราะห์ความต้องการ
3. การออกแบบระบบ
4. การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
7. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นสำรวจเบื้องต้น
ตอบ เป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัญ ความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ
8. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
ตอบ เป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้อการของผู้ใช้
9. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นออกแบบระบบ
ตอบ ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของระบบสารสนเทศ ได้แก่ การแสดงผลลัพธ์ การป้อนข้อมูล กระบวนการเก็บรักษา การปฏิบัติงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ
10. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
ตอบ ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกาณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่างๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย
11. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
ตอบ ทีมงานพัฒนาระบบจะควบคุมและดูแลติดตั้งอุปกรต่างๆ ของระบบใหม่ โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา ทีมงานพัฒนาระบบต้องทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานใด้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบไว้หรือไม่
12. รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 4 วิธี ดังต่อไปนี้
1. รูปแบบน้ำตก
2. รูปแบบวิวัฒนาการ
3. รูปแบบค่อนเป็นค่อนไป 
4. รูปแบบเกลียว
13. การปรับเปลี่ยนระบบมีกี่วิธี อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 4 วิธีดังต่อไปนี้
1. การปรับเปลี่ยนโดยตรง
2. การปรับเปลี่ยนแบบขนาน
3. การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระระ
4. การปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง

สรุปบทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล
ปัจจุบันข่าวสารและข้อมูลนับว่าเป็นทรัพยากรสำคัญที่ถูกนำมาช่วยสนับสนุนผู้บริหารในการบริหารและการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆของธุรกิจ การได้รับข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำในเวลาที่ต้องการ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ในทางตรงกันข้าม ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อการดำเนินงานขององค์การได้ 
เราจะแบ่งการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 แบบคือ การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ และการจัดแฟ้มแบบสุ่ม ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงานและปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ
ฐานข้อมูล หมายถึงการเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ โดยปกตินักวิชาการจะแบ่งโครงสร้างข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะ คือ โครงสร้างเชิงกายภาพ และโครงสร้างเชิงตรรกะ แต่เราจะให้ความสนใจกับโครงสร้างเชิงตรรกะ ซึ่งสามารถแยกอธิบายด้วยแบบจำลองออกเป็น 3 ประเภทคือ แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย และแบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลฐานข้อมูล โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMS จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล หรือ DDL ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล หรือ DML และพจนานุกรมข้อมูล
การบริหารฐานข้อมูลจะครอบคลุมไปถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูลทั้งเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ โดยบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลจะถูกเรียกว่า ผู้บริหารบานข้อมูล หรือ DBA
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย หมายถึงระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลไว้ในที่ต่างๆมากกว่า 1 แห่ง การเก็บข้อมูลแบบนี้มีได้ 2 ลักษณะคือ ระบบฐานข้อมูลกระจายแบบมีดัชนีรวม และระบบฐานข้อมูลกระจายแบบถามเครือข่าย

แบบฝึกหัดบทที่ 5
1. เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ 2 แบบ ดังต่อไปนี้
1. การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Organization) เป็นวิธีการจัดเก็บและรวบรวมระเบียน (Record) ของข้อมูลมูลตามลำดับก่อนหลัง โดยจัดเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย โดยผู้ใช้จะต้องเรียกข้อมูลตามลำดับที่จัดไว้ วิธีการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับเหมาะกับงานที่มีระยะเวลาในการประมวลผลค่อนข้างแน่นอน และต้องใช้ข้อมูล ปริมาณมากในการประมวล ซึ่งการจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับมีข้อดีดังต่อไปนี้
- ช่วยให้งานออกแบบแฟ้มข้อมูลง่าย
- สะดวกต่อการออกแบบและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการประมวลผลข้อมูลในปริมาณมาก
- ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์
- เสียเวลาในการดำเนินงาน
- ข้อมูลไม่ทันสมัยหรือไม่เป็นไปตามความจริง
- ต้องจัดลำดับข้อมูลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะมีการนำไปแก้ไขแฟ้มข้อมูล
2. การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Randon File Organization) เป็นวิธิการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มทำให้การใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลไม่มาก นอกจากนี้การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อดีดังต่อไปนี้
- การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว
- สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
- มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ
- ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ
- มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง
2. จงอธิบายความหมาย ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Randon File Organization) เป็นวิธิการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มทำให้การใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลไม่มาก นอกจากนี้การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อดีดังต่อไปนี้
- การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว
- สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
- มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ
- ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ
- มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง
3. ฐานข้อมูลคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ ฐานข้อมูล (Database) หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น
2. แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย
3. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์
5. จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท
ตอบ 1. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น มีประโยชน์แสดงโครงสร้างข้อมูลที่มีมีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลาย
2. แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย มีประโยชน์เป็นแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกว่าแบบจำลองเชิงลำดับขั้น
3. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์ มีประโยชน์ในการจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบตาราง 2 มิติ ซึ่งแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์แสดงความสัมพันธ์ที่อยู่ในตารางเดียวกัน หรือตารางที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกด้วย
6. ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ตอบ ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems DBMS) หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล คัดเลือกข้อมูล และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ กับหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่ง DBMS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
1. ภาษาสำหรับนิยมข้อมูล
2. ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล
3. พจนานุกรมข้อมูล
7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ พจนานุกรมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่จัดเรียบเรียงความหมาย และอธิบายลักษณะที่สำคัญของข้อมูลในฐานข้อมูลที่เข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและระเบียบ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้าและนำไปใช้อ้างอิงในอนาคต เนื่องจากอาจมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เปลี่ยนแปลงผู้บริหารฐานข้อมูล หรือเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต โดยพจนานุกรมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการข้อมูล เพราะจะช่วยให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใจระบบได้ง่ายขึ้น
8. นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง
ตอบ 1. กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
2. พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยฐานข้อมูล
3. จัดทำหลักฐานอ้างอิงของระบบฐานข้อมูล
4. ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
5. ประสานงานกับผู้ใช้
9. เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ (CIO) และ CIO มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร
ตอบ ปัจจุบันหลายองค์การได้มีการจัดหน่วยงานทางด้านฐานข้อมูลขององค์การขึ้นตรงต่อผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบด้านสานสนเทศ เช่น รองประธานบริษัท ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้างานด้านสารสนเทศ
10. จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 

สรุปบทที่ 6 การสื่อสารและระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ คอมพิวเตอร์ สถานี ช่องทางการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์สนับสนุนติดต่อสื่อสาร และชุดคำสั่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร ซึ่งระบบเครือข่ายแยกตามระยะทางและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ สามารถแบ่งออกเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ หรือ LAN ระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง หรือ MAN ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ หรือ WAN และระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ
รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักๆมี 4 แบบคือ โทโปโลยีแบบบัส โทโปโลยีแบบวงแหวน โทโปโลยีแบบดาว และโทโปโลยีแบบผสม ซึ่งเครือข่ายแต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ปัจจุบันช่องทางการติดต่อสื่อสารมีอยู่ 2 ลักษณะ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ได้แก่ การสื่อสารแบบมีสาย เช่น สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง และระบบสื่อสารแบบไร้สาย เช่น คลื่นสั้น และดาวเทียม โดยช่องทางการติดต่อสื่อสารแต่ละลักษณะจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยสัญญาณที่ใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารนั้น ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณที่ผ่านตัวกลางแบบมีสายหรือแบบไร้สาย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ สัญญาณแบบแอนะล็อกและสัญญาณแบบดิจิตอล ส่วนอุปกรณ์สนับสนุนการติดต่อสื่อสารสำคัญมีดังนี้ อุปกรณ์ประมวลผลหน้า อุปกรณ์รวบรวม และอุปกรณ์ควบคุม
เราจึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ที่เคยปฏิบัติงานเก็บรวบรวม ประมวลผล และจัดการสารสนเทศ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่อยู่คนละส่วนงานหรือคนละพื้นที่ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจึงต้องติดตามศึกษาการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ



แบบฝึกหัดบทที่6
1.ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ เทคโนโลยีการสื่อสารมีส่วนช่วยให้การดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยให้การส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรสาร โทรศัทน์ อีเมล์โทรทัศน์และอื่นๆ

2.ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
ตอบ 1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน 
3.เครือข่ายบริเวรกว้างหรือแวน 
4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3.ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่(LAN)และระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่(WAN)มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ Local Area Network (LAN)
Local Area Network คือ เครือข่ายข้อมูลความเร็วสูง โดยจะครอบคลุมพื้นที่ไม่ใหญ่มาก เช่น ภายในสํานักงาน ภายในอาคาร หรือภายในองค์กรหรือบริษัท โดยคอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย อย่างเช่น ฮับ (Hub), สวิทชิ่งฮับ (Switching Hub) หรือ Access Point ด้วยสายคู่ตีเกลียว (Unshield Twisted Pairs หรือ UTP) หรือด้วยคลื่นวิทยุ และอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวการเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายคู่ตีเกลียว (Unshield Twisted Pairs หรือ UTP) หรือสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการสื่อสารแบบคลื่นวิทยุ (Wireless) แบบใดแบบหนึ่งหรือผสมผสานกันก็ได้ และแต่เครือข่าย Local Area Network (LAN) จะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์ที่ชื่อเราเตอร์ (Router)
Wide Area Networks (WAN) 
Wide Area Networks (WAN) คือ เครือข่ายที่เกิดจากการเชื่อมตอเครือข่ายแบบ LAN ที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เข้าด้วยกัน โดยจะที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่กว่าแบบ MAN เช่น การเชื่อมตอระบบเครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างประเทศ โดยจะเชื่อมต่อด้วย คู่สายเช่า (Leased line) ระบบไมโครเวฟ หรือผ่านดาวเทียม และการเชื่อมต่อระหว่างแต่ละโหนดนั้นอาจมีความเร็วไม่สูงมาก

4.จงเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน 
3.เครือข่ายบริเวรกว้างหรือแวน 
4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

5.รูปแบบของเทคโนโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ 1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน 
3.เครือข่ายบริเวรกว้างหรือแวน 
4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

6.ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ลักษณ์ อะไรบ้าง
ตอบ ช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด
1.ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pairWire)สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable)
2.ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม(Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์

7.สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพน์ สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง มีความแตกต่างกันอย่างไร 
ตอบ สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable) 
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
- สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) 
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHzถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
- สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable) 
สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 

8.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญาณแบบแอนะล็อก กับสัญญาณแบบดิจิตอล
ตอบ 1. สัญญาณแบบแอนะล็อก (Analog Signal) จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆ ค่า ที่เปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมาย การส่งสัญญาณแบบนี้จะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากค่าทุกค่าถูกนำมาใช้งาน ซึ่งสัญญาณแบบแอนะล็อกนี้จะเป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสารส่วนมากใช้อยู่เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
2. สัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Signal) จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่าคือ สัญญาณระดับสูงสุด และสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบอนาลอกเนื่องจากมีการใช้งานค่าสองค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on/off หรือ0/1 เท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน





สรุปบทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

การตัดสินใจของผู้บริหารมีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ความมั่นคง และการพัฒนาการขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารจะต้องตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรขององค์การที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน ซึ่งเราสามารถแบ่งการตัดสินใจของผู้บริหารภายในองค์การได้เป็น 3 ระดับคือ การตัดสินใจระบบกลยุทธ์ การตัดสินใจระดับยุทธวิธี และการตัดสินใจระดับปฏิบัติการ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เราสามารถจำแนกส่วนประกอบของ DSS ออกเป็น 4 ส่วนดังต่อไปนี้
1.อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ DSS แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อุปกรณ์ประมวลผล อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์แสดงผล
2.ระบบการทำงาน ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ฐานข้อมูล ฐานแบบจำลอง และระบบชุดคำสั่งของ DSS
3.ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของ DSS
4.บุคลากร โดยที่เราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้ใช้และผู้สนับสนุนระบบ DSS
เราจะเห็นว่า DSS,GDSS และระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารหรือ EIS ต่างเป็นระบบสารสนเทศที่มิใช่เพียงมีความสามารถในการจัดการข้อมูล เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานประจำวัน แต่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารและการประสานงานของระบบงานภายในองค์การ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวใหม่ของการดำเนินงานของธุรกิจในยุคสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่7
1.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ สำหรับการทำงานภายในองค์กรตามผังองค์กร (Organization Chart) จะมีการจัดโครงสร้างการบริหารงานแยกเป็นฝ่ายหรือแผนก และมีผู้จัดการหรือหัวหน้าฝ่าย-แผนก เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ แต่การตัดสินใจนั้นก็จะต้องอยู่ในกรอบตามที่อำนาจหน้าที่ของตนจะทำได้ ซึ่งการตัดสินใจของผู้จัดการอาจเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับ ตัดสินใจเพื่อการแข่งขัน ซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และไม่ว่าผลของการตัดสินใจนั้นจะเป็นเช่นไร ผู้จัดการจะต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเองเสมอ

2. เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง?
ตอบ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดนโยบาย วางแผนระยะยาวขององค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์
2. การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง เช่น การจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้บรรลุวัตถุประสงค์ จัดสรรงบประมาณ กำหนดการผลิต ยุทธวิธีทางการตลาด วางแผนงบประมาณ เป็นต้น
3.การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operation Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการเช่น การควบคุมสินค้าคงคลัง การตัดสินใจในกระบวนการในการสั่งซื้อ สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้า และตัดสินใจได้โดยอัตโนมัติ

3. เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง?
ตอบ มี 5 ขั้นตอน
1. ผู้ตัดสินใจรับรู้ถึงโอกาส หรือปัญหาที่เกิดขึ้น
2. ผู้ตัดสินใจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา และกำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ เพื่อการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ
3. ผู้ตัดสินใจจะทำการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คิดว่าเหมาะสมกับลักษณะของปัญหาและสถานการณ์ เพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป
4. ผู้ตัดสินใจจะดำเนินการ เพื่อนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ
5. ภายหลังการนำผลการตัดสินใจไปดำเนินงาน ต้องทำการติดตามผลของการปฏิบัติ เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพเพียงใด และต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างไร

4. การตัดสินใจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ตอบ มี 3 ประเภท ได้แก่
1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง (Structured Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงมีมาตรฐานในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยวิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจนหรือมีความซับซ้อน จึงไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาแน่นอน เป็นปัญหาที่ไม่มีการระบุวิธีแก้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง การตัดสินใจกับปัญหาลักษณะนี้ จะไม่มีเครื่องมืออะไรมาช่วย มักเป็นปัญหาของผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และความรู้ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructured Decision) เป็นการตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้างและแบบไม่เป็นโครงสร้าง คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบโครงสร้างได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้ โดยปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้ จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐานและการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน คือมีลักษณะเป็นกึ่งโครงสร้าง แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนจึงไม่ชัดเจนว่า จะมีขั้นตอนอย่างไร ปัญหาบางส่วนเขียนเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ปัญหาบางส่วนไม่สามารถเขียนออกมาในรูปของแบบจำลองได้

5. การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
ตอบ กำหนดรูปแบบในการแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจน และแน่นอน เพราะส่วนใหญ่มักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ (Routine) อาจใช้แบบจำลอง (Model) ทางคณิตศาสตร์คำนวณหาผลลัพธ์ ปัญหาประเภทนี้มักจะมีข้อมูลและข่าวสารประกอบการตัดสินใจอย่างครบถ้วน

6.จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ?
ตอบ DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น

7. DSS มีส่วนประกอบอะไรบ้าง? จงอธิบายโดยละเอียด
ตอบ สามารถจำแนกออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1.อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยกันคือ
1.1. อุปกรณ์ประมวลผล ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในสมัยเริ่มแรกจะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) หรือมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ในสำนักงานเป็นหลักแต่ในปัจจุบันองค์การส่วนมากหันมาใช้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) แทนเนื่องจากมีราคาถูก มีประสิทธิภาพดี และสะดวกต่อการใช้งาน ตลอดจนผู้ใช้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในงานสารสนเทศสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ สามารถที่จะพัฒนา DSS ขึ้นบน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยใช้ชุดคำสั่งประเภทฐานข้อมูล และ Spread Sheet ประกอบ
1.2. อุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วยระบบสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) ได้ถูกนำเข้ามาประยุกต์ เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศของ DSS โดยในบางครั้งอาจจะใช้การประชุมโดยอาศัยสื่อวีดีโอ (Video Conference) หรือการประชุมทางไกล (Teleconference)ประกอบ เนื่องจากผู้มีหน้าที่ตัดสินใจอาจอยู่กันคนละพื้นที่
1.3. อุปกรณ์แสดงผล DSS ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แสดงผลเช่น จอภาพที่มีความละเอียดสูง เครื่องพิมพ์อย่างดี และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เพื่อช่วยถ่ายทอดข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนสร้างความเข้าใจในสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ และช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ
2.ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ
2.1. ฐานข้อมูล (Database) DSS จะไม่มีหน้าที่สร้าง ค้นหา หรือปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลขององค์การ เนื่องจากระบบข้อมูลขององค์การเป็นระบบขนาดใหญ่มีข้อมูลหลากหลายและเกี่ยวข้องกับข้อมูลหลายประเภท แต่ DSS จะมีฐานข้อมูลของตัวเอง ซึ่งจะมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่สำคัญจากอดีตถึงปัจจุบันและนำมาจัดเก็บ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไว้อย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน และแน่นอน เพื่อรอการนำไปประมวลผลประกอบการตัดสินใจ ขณะเดียวกัน DSS อาจจะต่อเชื่อมกับระบบฐานข้อมูลขององค์การ เพื่อดึงข้อมูลสำคัญบางประเภทมาใช้งาน
2.2. ฐานแบบจำลอง (Model Base) มีหน้าที่รวบรวมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ปกติ DSS จะถูกพัฒนาขึ้นมาตามจุดประสงค์เฉพาะอย่าง ดังนั้น DSS จะประกอบด้วยแบบจำลองที่ต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้
2.3. ระบบชุดคำสั่งของ DSS (DSS Software System) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลและฐานแบบจำลอง โดยระบบชุดคำสั่งของ DSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองต่างๆ โดยระบบชุดคำสั่ง ของDSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองต่างๆเพื่อนำมาประมวลผลกับข้อมูลขากฐานข้อมูล นอกจากนี้ระบบชุดคำสั่งยังมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการโต้ตอบกับ DSS โดยที่สามารถแสดงความสัมพันธ์ของส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนคือ
- ผู้ใช้
- ฐานแบบจำลอง
- ฐานข้อมูล
3.ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้วก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังอาจจะสร้างปัญหา หรือความผิดพลาดในการตัดสินใจขึ้นได้ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับ DSS จะแตกต่างจากข้อมูลในระบบสารสนเทศอื่น โดยที่ข้อมูล DSS ที่เหมาะสม สมควรที่จะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
3.1. มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้งาน
3.2. มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
3.3. สามารถนำมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
3.4. มีความยืดหยุ่นและสามารถนำมาจัดรูปแบบ เพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม
4. บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่ การกำหนดเป้าหมายและความต้องการ การพัฒนา ออกแบบ และการใช้ DSS ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
4.1. ผู้ใช้ (End-user) เป็นผู้ใช้งานโดยตรงของ DSS ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆตลอดจนนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจที่ต้องการข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในปัญหาที่เกิดขึ้น
4.2. ผู้สนับสนุน DSS (DSS Supports) ได้แก่ ผู้ควบคุมดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ผู้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้จัดการข้อมูลและที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบ เพื่อให้ DSS มีความสมบูรณ์ และสามารถดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เราจะเห็นว่าหัวใจสำคัญของ DSS ที่ดีจำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความต้องการขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

8. การพัฒนา DSS มีความเหมือนหรือความแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ 1. DSS ให้ความสำคัญกับการนำสารสนเทศไปประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้ มิใช่การรวบรวม การหมุนเวียน และการเรียกใช้ข้อมูลในงานประจำวันเหมือนระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติการ
2. DSS ถูกพัฒนาให้สามารถจัดการข้อมูล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหากึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของผู้จัดการระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง ขณะที่ระบบสารสนเทศในสำนักงานจะเกี่ยวข้องกับการทำงานประจำวันของพนักงาน หรือหัวหน้างานระดับต้น
3. DSS ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหาของผู้ใช้ โดยต้องมีความยืดหยุ่น สมบูรณ์และสะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งแตกต่างจากระบบสารสนเทศในการปฏิบัติงานที่เก็บรวบรวม จัดระเบียบ และจัดการสารสนเทศทั่วไปขององค์การ
4. ปัจจุบัน DSS มีแนวโน้มที่จะถูกพัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เนื่องจากการขยายตัวของการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในกลุ่มบุคคลระดับต่างๆขององค์การ รวมทั้งบุคลากรในระดับผู้บริหารขององค์การที่มีความสนใจและมีความรู้ในเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
5. ผู้ใช้มีส่วนสำคัญในการออกแบบและการพัฒนา DSS เนื่องจากปัญหาในการตัดสินใจจะมีลักษณะที่เฉพาะตัว ตลอดจนผู้ใช้แต่ละคนจะเกี่ยวข้องกับปัญหา หรือมีความถนัดในการใช้งานระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน ประกอบกับผู้ใช้ส่วนมากจะมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศสูงขึ้น ปัจจุบันการพัฒนา DSS จะนิยมใช้วิธีการทดลองปฏิบัติแบบตอบโต้ (Interactive) หรือการทำต้นแบบ (Prototyping Approach) เพื่อทดลองใช้และพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเป็นที่พอใจของผู้ใช้

9.ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา DSS อย่างไร
ตอบ การพัฒนา DSS จะมีความแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
สามารถที่จะช่วยเพิ่มความสามารถ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่ม โดยที่กลุ่มจะประหยัดเวลาในการตัดสินใจ ตลอดจนช่วยลดจำนวนครั้งในการะประชุม ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกของกลุ่มสามารถใช้เวลาไปทำกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การได้ นอกจากนี้ GDSS ยังช่วยให้ผลการประชุมมีความถูกต้องและความน่าเชื่อถือมากขึ้น

10. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม(GDSS)
ตอบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม หรือที่เรียกว่า GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของกลุ่ม GDSS สำหรับกลุ่มประกอบด้วยอุปกรณ์ ตั้งแต่ ระบบคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร เพื่อให้การประสานงานภายในกลุ่มมีประสิทธิภาพ โดยที่อุปกรณ์แต่ล่ะประเภทจะถูกออกแบบและดับแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้ GDSS ต้องมีส่วนประกอบสำคัญ คือ ชุดคำสั่งพิเศษที่ช่วยกำหนดขอบเขต ประเมินทางเลือกของปัญหา และประสานงานให้สมาชิกสามารถตัดสินใจในปัญหาร่วมกัน หรือที่เรียกว่า ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม
ประโยชน์
1.ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2.มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3.สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4.สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5.มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6.ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7.มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด


สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
การดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนและมีความรุนแรงในการแข่งขัน ทำให้ผู้บริหารต้องสามารถตัดสินใจอย่างรวดเร็ว จึงต้องอาศัยสารสนเทศที่เหมาะสมดังที่มีผู้กล่าวว่า สารสนเทศคืออำนาจ ทุกองค์กรจึงต้องจัดหาและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่บุคลากรบางกลุ่มในองค์การจะต้องมีความต้องการสารสนเทศที่เฉพาะ เช่น ผู้บริหารจะมีความแตกต่างจากผู้ใช้ข้อมูลในระดับอื่นที่ต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ง่ายต่อการตัดสินใจ ไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลอีก ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร หรือ EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการสารสนเทศของผู้บริหารให้มีความต้องการข้อมูลที่มีความแตกต่างจากบุคลากรกลุ่มอื่นขององค์การ โดยเฉพาะลักษณะงานของผู้บริหารในปัจจุบันที่มีความสำคัญกับองค์การ และมีระยะเวลาจำกัดในการตัดสินใจแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อองค์การ
ปัจจุบันมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้ารับการสัมมนาระยะสั้น หรือผู้ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่สมบูรณ์ โดยคิดว่าระบบสารสนเทศเป็นแก้วสารพัดนึกที่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลทุกประเภทโดยเฉพาะ EIS ประการสำคัญเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์การยังมีความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดความคาดหวังที่คลาดเคลื่อนจากความสามารถของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะมีผลต่อความประทับใจ ความเชื่อมั่น และการสนับสนุนต่อการพัฒนาระบบในอนาคต





แบบฝึกหัดบทที่8
1. เหตุใดการตัดสินใจของผู้บริหารจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ?
ตอบ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าผู้บริหาร (Executive) เป็นบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และอนาคตขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การผ่านการตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสสำคัญทางธุรกิจซึ่งการตัดสินใจของผู้บริหารโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง (Top Executive)จะมีผลไม่เพียงต่อการดำเนินงานในระยะสั้น แต้ครอบคลุมถึงความอยู่รอด ความมั่นคง และความเจริญเติบโตขององค์การ นอกจากนี้การตัดสินใจของผู้บริหารจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างจากการตัดสินใจของบุคลากรอื่นขององค์การ ไม่ว่าผู้จัดการระดับกลาง หัวหน้างาน ตลอดจนพนักงานระดับปฏิบัติการ เพราะผู้บริหารระดับสูงจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือโอกาสทางธุรกิจที่มีความซับซ้อน หลากหลายและท้าทาย
2. สารสนเทศสำหรับผู้บริหารมีคุณลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากสารสนเทศสำหรับบุคคลอื่นในองค์การอย่างไร?
ตอบ ผู้บริหารแต่ละคนจะมีสัดส่วนการตัดสินใจในแต่ละลักษณะแตกต่างกันตามงานของตน หรือสถานการณ์ของธุรกิจ แต่ลักษณะร่วมในการตัดสินใจของผู้บริหารที่เหมือนกันคือ ผู้บริหารที่มีศักยภาพภาพต้องสามารถตัดสินใจในปัญหาหรือวิกฤตการณ์ขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำองค์การฝ่าวิกฤตและดำเนินไปสู่จุดม่งหมายที่ต้องการอย่างราบรื่น

3. ปกติผู้บริหารได้รับข้อมูลในการตัดสินใจจากแหล่งใดบ้าง ตลอดจนข้อมูลจากแต่ละแหล่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริหารอย่าง?
ตอบ 1.ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการดำเนินงาน (Transaction Processing Data) เป็นข้อมูลที่แสดงผลการปฏิบัติงานขององค์การ หน่วยงาน หรือระบบที่สนใจ ข้อมูลจากการดำเนินงานช่วยสร้างความเข้าใจและสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ผ่านในอดีต โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบ การควบคุม และการแก้ปัญหาการดำเนินงานโดยทั่วไป ตลอดจนสามารถนำมาประกอบการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2.ข้อมูลจากภายในองค์การ (Internal Data) เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นภายในองค์การ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงานของกิจกรรม และ/หรือโครงการในด้านต่าง ๆ ขององค์การได้แก่ งบประมาณ แผนรายจ่าย การคาดการณ์ยอดขายและรายได้ และแผนทางการเงิน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่จะครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 6 เดือนจนถึงหลายปี โดยข้อมูลจะแสดงอดีต ปัจจุบัน และทิศทางในอนาคตขององค์การ เพื่อกำหนดแนวทางและจัดส่วนผสมของทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ข้อมูลจากภายนอกองค์การ (External Data) ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบต่อองค์การโดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม แลวิทยาการในประเทศหนึ่งจะมีเกี่ยวเนื่องไปทั่วโลก ผู้บริหารระดับสูงมักใช้ข้อมูลที่มาจากแหล่งภายนอกมาประกอบในการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือการตัดสินใจที่จะดำเนินธุรกิจหรือล้มเลิก เป็นต้น


4. จงอธิบายความสำพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อศักยภาพในการแข่งขันในองค์การในยุคปัจจุบัน
ตอบ ความรวดเร็วในการเข้าถึงและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีที่หนึ่งตลอดจนการกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลขอคนหมู่มาก ส่งผลให้ผู้บริการองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจต้องสามารถทำการตัดสินใจทางเลือกของการแก้ปัญหาและโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การดำเนินงานและปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยลดความไม่แน่นอนและความผิดพลาดในการตัดสินใจลง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับเทคโนโลยีสารสนเทศยังมิได้เป็นความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการส่งเสริมการนำระบบสารสนเทศมาช่วยงานทางธุรกิจด้วย

5. จงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมทักษะทางสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
ตอบ จากการศึกษาทำให้เราสามารถกล่าวได้ว่า ผู้บริหารระดับสูงในประเทศสหรัฐอเมริกามีความรู้และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงานมากขึ้น แต่ภาพรวมของความเข้าใจและการใช้งานของระบบสารสนเทศของผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยยังมิได้พัฒนาทักษะทางสารสนเทศสู่ระดับที่ต้องการ และความเข้าใจอย่างแท้จริงในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นในช่วงเวลาของการตื่นตัวด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีความเข้าใจและทักษะมากขึ้น โดยเฉพาผู้ที่เติบโตในยุคของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในทางปฏิบัติผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำสารสนเทศมาส่งเสริมศักยภาพในการดำเนินงานขององค์การ ซึ่งจะส่งผลให้องค์การสามารถดำเนินงานโดยไม่เสียเปรียบคู่แข่งขันนอกจากนี้การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานของธุรกิจต้องได้รับความสำคัญและการสนับสนุนจากผู้บริหาร มิเช่นนั้นพัฒนาการของระบบสารสนเทศจะไม่สามารถเกิดขึ้นในทิศทางที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การได้

6. จงอธิบายความหมายและคุณลักษณะเฉพาะของ EIS
ตอบ
ลักษณะ
รายละเอียด
ระดับการใช้งาน
มีการใช้งานบ่อย
ความยืดหยุ่น
สูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
การใช้งาน
ใช้ในงานตรวจสอบ ควบคุม
การสนับสนุนการตัดสินใจ
ผู้บริหารระดับสูงไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
การสนับสนุนข้อมูล
ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ผลลัพธ์ที่แสดง
ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
การใช้งานภาพกราฟฟิก
สูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
ความเร็วในการตอบสนอง
จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
ตารางแสดงลักษณะเฉพาะของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง

7. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, DSS และ MIS
ตอบ EIS และ DSS ต่างถูกพัฒนาขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ แต่ทั้งสองระบบจะมีความแตกต่างกันในระดับของการใช้งาน การนำเสนอข้อมูล และความยากง่ายในการใช้ โดยที่เราสามารถกล่าวได้ว่า EIS เป็น DSS ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสารสนเทศในการตัดสินใจแก้ปัญหา และการดำเนินงานของผู้บริหารที่ไม่ต้องการข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องสมบูรณ์ แต่สร้างความเข้าใจและให้ภาพรวมของระบบหรือปัญหาที่ผู้บริหารสนใจ โดย EIS อาจได้รับการออกแบบและพัฒนาจากฐานของ DSS เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนคณะที่ปรึกษาและผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องใน DSS ถ้าผู้บริหารเกิดความต้องการข้อมูลมากกว่าที่ EIS ถูกพัฒนาขึ้น
8. คุณสมบัติสำคัญของ EIS มีอะไรบ้าง?
ตอบ 1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Plannig Support ) ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นผู้พัฒนา EIS สมควรจะมีความรู้ในเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy ) และปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Factors) เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดแผนทางกลยุทธ์ที่สมบูรณ์
2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ( External Environment Focus ) ปกติสิ่งที่ผู้บริหารต้องการจากระบบสารสนเทศคือ การที่จะสามารถเรียกสารสนเทศที่ต้องการและจำเป็นต่อการตัดสินใจออกมาจากฐานข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะข้อมูลและข่าวสารที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องการประกอบการตัดสินใจ โดยส่วนมาก EIS จะถูกออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์การ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
3.มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad- based Computing Capabilities ) การตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนและขาดความชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมองถึงภาพโดยรวมของระบบแบบกว้างๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด ดังนั้นการคำนวณที่ผู้บริหารต้องการจึงเป็นลักษณะง่าย ๆ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และไม่ซับซ้อนมาก เช่น การเรียกข้อมูลกลับดู การใช้กราฟ การใช้แบบจำลองแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น
4.ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use ) เนื่องจากผู้บริหารจะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ผู้บริหารจึงมีเวลาในการตัดสินใจในแต่ละงานน้อยหรือกล่าวได้ว่าเวลาของผู้บริหารมีค่ามาก ดังนั้นการพัฒนา EIS ควรที่จะเลือกรูปแบบการแสดงผล หรือการตอบโต้กับผู้ใช้ในแนวทางที่ง่ายต่อการใช้งานในเวลาที่สั้น เช่น ตารางแสดงผล กราฟ ภาษาที่ง่าย และการตอบโต้ที่รวดเร็ว เป็นต้น
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization ) การตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ต่อพนักงานอื่นและต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer ) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนา EIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EI S ที่มีศักยภาพสูงมีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ เช่น ข้อมูลใดที่เป็นที่ต้องการของผู้บริหารอย่างมาก หรือมีการเรียกมาใช้บ่อยควรออกแบบให้มีขั้นตอนการเข้าถึงที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เช่น โดยการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์เพียงไม่กี่ปุ่ม หรือการเคลื่อนที่และการใช้งานเมาส์ (Mouse )บนจอภาพ หรือการสั่งงานด้วยเสียงพูด ซึ่งต่างจากนระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากรระดับอื่นในองค์การที่ต้องมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าในการเข้าถึงข้อมูลลักษณะเดียวกัน เป็นต้น
9. ข้อดีและข้อจำกัดในการนำ EIS มาใช้งานในองค์การมีอะไรบ้าง?
ตอบ 

ข้อดี
ข้อจำกัด
-ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
-มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
-ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ข้อมูลละการนะเสนออาจจะไม้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
-ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
-ยากต่อการประเมินประโยชน์ และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
-ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
-ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
-ประหยัดเวลาในการดำเนินงาน
-ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
-สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
-ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล


10. ท่านมีความเห็นว่ามีการประยุกต์ EIS ในองค์การในประเทศบ้างหรือไม่? จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ มี ปัจจุบันพัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง
1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
3. เครื่องมือในการทำงาน
4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
5.เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร


สรุปบทที่ 9 ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
ปัญญาประดิษฐ์หรือเป็นเทคโนโลยีสาขาหนึ่ง ที่ผู้คนให้ความสนใจมากในปัจจุบัน เนื่องจากระบบที่มีการศึกษา เรียนรู้ และสามารถตอบสนองต่อปัญหาบุคคลและองค์การในแบบเดียวกับบุคคลปกติ แต่ถึงแม้จะมีการตื่นตัวในสาขาด้านระบบความฉลาดของคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันนักคอมพิวเตอร์ก็ยอมรับว่า ยังไม่มีระบบสารสนเทศที่สามารถทดแทนความฉลาดของมนุษย์ไดสมบูรณ์
การพัฒนา ES นับว่ามีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในที่นี้พอจะสรุปได้ 5 ขั้นตอนด้วยกันการเลือกอุปกรณ์ การถอดความรู้ การสร้างต้นแบบ และการขยาย การทดสอบ การบำรุงรักษา 




แบบฝึกหัดบทที่9
1.จงอธิบายความหมายของระบบความฉลาดและปัญญาประดิษฐ์(AI)
ตอบ ระบบความฉลาดหมายถึงระบบที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถกล่าวได้ว่ามีความฉลาดตามความรู้สึกของมนุษย์ซึ่งการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มักจะเรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์(Artificial lntelligence) หรือ AI เนื่องจากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นสาขาวิชาที่มีการพลวัตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความหมายและความข้าใจในหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
2.AI มีการดำเนินงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไปอย่างไร
ตอบ แตกต่าง เพราะ
1.AI ทำการประมวล(Manipuiating) ทั้งสัญลักษณ์ (Symbols) และตัวเลข (Numbers)ปกติระบบAI จะถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประมวลสัญลักษณ์มากกว่าประมวลตัวเลข
2.AI เป็นชุดคำสั่งแบบมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์(Non-Algorithmic)หรือHeuristic ปกติระบบสารสนเทศทั่วไปจะดำเนินการวิเคราะห์และแก้ปัญหาตามขั้นตอนโดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ (Algorithm)เป็นสำคัญ
3.ชุดคำสั่งของระบบ AI จะให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบแผน (Pattern Recognition) ตามที่ถูกกำหนดมา เพื่อใช้ในการประมวลผลตามลักษณะของงาน
3.เราสามารถจำแนก AI ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 5 ประเภท
1.การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
2.ระบบภาพ (Vision System)
3.ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)
4.หุ่นยนต์ (Robotics)
5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
4.ระบบผู้เชี่ยวชาญคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก AI อย่างไร
ตอบ หมายถึงระบบสสารสนเทศที่ให้คำปรึกษาที่ลอกเลียนยกระบวนการใช้เหตุผลของผู้เชี่ยวชาญในสาขาความรู้นั้น
5.จงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างฐานความรู้กับฐานข้อมูล
ตอบ ฐานความรู้ (Knowledge Base)ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและประสบการณ์ที่สำคัญของผู้เชี่ยวชาญ
ฐานข้อมูลจะเก็บรวบรวมตัวเลข,สัญลักษณ์และอาจมีส่วนแสดงความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันระหว่างแต่ละฐานข้อมูล
6.เราสามารถประเมินความรู้ของระบบสารสนเทศว่ามีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความรู้อย่างไร
ตอบ การทดสอบแบบ Turning (Turning Test) โดยกำหนดคอมพิวเตอร์และบุคคลที่มีความรู้ในสาขานั้นตอบคำถามจากผู้สัมภาษณ์ ผู้ตอบคำถาม และระบบความฉลาดถูกจัดให้อยู่ในห้องที่แยกจากกันอย่างเป็นสัดส่วน
7.จงอธิบายขั้นตอนในการพัฒนา ES ตลอดจนความเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการพัฒนา ES กับการพัฒนาระบบสารสนเทศปกติ
ตอบ 1.การวิเคราะห์ปัญหา
2.การเลือกอุปกรณ์
3. การถอดความรู้
4. การสร้างต้นแบบ
5.การขยาย การทดสอบ และบำรุงรักษา
8.วิศวกรรมความรู้คืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจากการวิเคราะห์และออกแบบอย่างไร
ตอบ โดยธรรมชาติ วัสดุทุกชนิดจะมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนรูปในลักษณะทั้งแบบยืดหยุ่นได้(รูปร่างกลับมาเหมือนเดิม) และแบบถาวร (รูปร่างเปลี่ยนไปแบบถาวร ไม่เหมือนก่อนการเปลี่ยนรูป) ซึ่งการเปลี่ยนรูปดังกล่าวจะเป็นแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับแรงที่มากระทำกับวัสดุและค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ โดยที่ถ้าแรงที่มากระทำกับวัสดุมากกว่าค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ การเปลี่ยนรูปแบบถาวรก็จะเกิดขึ้นแต่ถ้าแรงที่มากระทำกับวัสดุไม่มากเกินค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ วัสดุก็จะกลับคืนสู่รูปร่างเดิม
ในกรณีการดัดงอนั้น การกลับคืนตัวดังกล่าวเราเรียกว่า Spring back (อาจแปลเป็นไทยได้ว่า การดีดตัวกลับของวัสดุ) โดยที่ผลของ Spring back นั้นทำให้วัสดุที่ทำการดัดงอเกิดการดีดตัวหรือคลายตัวกลับไปในทิศทางเดิมก่อนที่วัสดุนั้นๆจะถูกดัด ซึ่งสิ่งนี้นับเป็นปรากฏการณ์ปกติที่เกิดขึ้นได้กับวัสดุที่มีรูปร่างเป็นแผ่นเรียบทั้งแบบบางและหนา วัสดุที่เป็นแท่ง ท่อกลม วัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นบางๆ หรืออาจเป็นวัสดุที่มีหน้าตัดเป็นแบบอื่นๆ
9.จงอธิบายการทำงานของระบบเครือข่ายใยประสาท
ตอบ จะต้องประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่ต่อเรียงกันเข้าเป็นระบบอย่างน้อย 2ระดับโดยระดับแรกเรียกว่า “ระดับนำเข้า”ทำหน้าที่รับสิ่งนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่ระบบแล้วทำการสงต่อให้เครือข่ายในระดับถัดไปตาหน้าที่และความสัมพันธ์ที่ถูกกำหนดจนกระทั่งถึงระดับสุดท้ายหรือที่เรียกว่า”ระดับแสดงผลลัพธ์”
10.ท่านคิดว่าแนวโน้มและทิศทางในการพัฒนาระบบความฉลาดของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทิศทางใด
ตอบ คอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบันมีวิวัฒนาการก้าวหน้าไปมากและได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์แทบจะทุกสาขา สำหรับการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยทางเคมีนั้น คอมพิวเตอร์ได้มีส่วนช่วยทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในระยะหลังๆนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้คอมพิวเตอร์คำนวณและออกแบบก่อนทำการทดลองจริง โดยใช้ผลการศึกษาจากคอมพิวเตอร์ เพื่อแนะแนวทางไปสู่วิธีที่ดีกว่าของการปฏิบัติการจริง บ่อยครั้งที่การทดลองจริงไม่สามารถจะดำเนินการได้เพราะข้อขัดข้องในเรื่องของเครื่องไม้เครื่องมือ ตลอดจนอุปกรณ์ที่มีราคาแพง หรือแม้แต่ในแง่ของขีดจำกัดทางเทคโนโลยีเองที่ไม่สามารถทำให้ทำการทดลองจริงได้ รวมถึงเรื่องของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ทดลอง ในการทดลองบางอย่าง ในสถานการณ์เหล่านี้คอมพิวเตอร์เป็นทางออกที่ดีทีเดียว ความสำเร็จของคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบโมเลกุลนี้ ไม่เพียงปรากฏผลเฉพาะแต่ในวงการวิชาการเท่านั้น หากยังออกดอกออกผลไปสู่อุตสาหกรรมอีกด้วย ยาหลายๆตัวที่มีขายตามท้องตลาดอยู่ในขณะนี้ ตัวอย่างเช่นยารักษาโรคเอดส์จาก Merck Research Laboratories และยาบรรเทาไข้หวัดที่ผลิตโดยSterling Winthrop ก็ผ่านขั้นตอนของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบมาแล้วทั้งสิ้น

สรุปบทที่10-14


สรุปบทที่ 10 การจัดการความรู้
ในสังคมแห่งความรู้ (Knowlede Society) ความรู้ ถือเป็นทรัพยากรหลักที่มีค่ายิ่งซึ่งแตกต่างจากปัจจัยอื่นๆ เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งสภาวะดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยลำดับขั้นของความรู้สามารถแบ่งออกเป็น 5 ลำดับขั้นคือ ข้อมูล ความรู้ สาสนเทศ ความชำนาญ ความสามารถ
ในปัจจุบันองค์การที่ประสบความสำเร็จคือ องค์การที่มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอและเผยแพร่ความรู้นั้นไปทั่วทั้งองค์การ lkujiro Noraka และ Tekeuchi (1995) จึงได้นำเสนอโมเดความรู้ที่มีชื่อว่า SECI – Knowledge Conersion Process ที่ประกอบด้วยกระบวนการ 4 กระบวนการ ได้แก่ Soci alization, Externalition, Combination, และ Internalization
ในเมื่อสารสนเทศและความรู้มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการจัดการสารสนเทศไม่สามารถจัดการความรู้ได้ เพราะมีความซับซ้อนมากกว่า จึงมีการจัดการความรู้หรือ KM เกิดขึ้น ซึ่งการจัดการความรู้ หมายกึงกระบวนการอย่างเป็นระบบที่องค์การพัฒนาขึ้นมาเกี่ยวกับการแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอด และการใช้/การแพร่กระจายความรู้ เพื่อพัฒนาให้องค์การมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน
กระบวนการในการจัดการความรู้นั้น มีการจำแนกที่แตกต่างกัน จากการศึกษา ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่ากระบวนการจัดการความรู้นั้น ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 5 ส่วนคือ กระบวนการแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอด และการใช้/การเผยแพร่ความรู้ โดยองค์การที่มีความคิดในการจัดความรู้ จำเป็นต้องพัฒนากระบวนการจัดการความรู้เฉพาะองค์การเองเพื่อให้องค์การสามารถจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
แบบฝึกหัดบทที่10
1.เพราะเหตุใดในปัจจุบันความรู้จึงมีความสำคัญกับองค์การ?
ตอบ เมื่อข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างมากมายจึงทำให้เกิดสังคมแบบใหม่ที่เรียกกันว่า สังคมสารสนเทศ , สังคมแห่งความรู้ หรือสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นผลให้องค์การต่างๆต้องปฏิรูปตนเองเพื่อความอยู่รอดกันอย่างเต็มที่ และรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
2.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูล ความรู้ และสารสนเทศ
ตอบ ข้อมูล คือ ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
ความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน

3.ลำดับขั้นของความรู้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ตอบ 5 ปะเภท
1. ความสามารถ (Capability)
2.ความชำนาญ (Expertise)
3. ความรู้ (Knowledge)
4. สารสนเทศ (Information)
5. ข้อมูล (Data)

4.โมเดลการสร้างความรู้ (SECI) ประกอบด้วยกระบวนการอะไรบ้าง และแต่ละกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างไร?
ตอบ Socialization คือ การสร้างความรู้ด้วย การแบ่งปันประสบการณ์โดยการพบปะ
สมาคม และพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอด แบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
Externalization คือ การนำความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นำมาพูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้
เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร Combination คือ การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมารวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆเพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้ Internalization คือ การนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง ๆโดยการ ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา จนกลายเป็นความรู้และปรับปรุงตนเอง

5.เพราะเหตุใดองค์การในปัจจุบันจึงเล็งเห็นเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้?
ตอบ จะเห็นได้ว่า การสร้างความรู้ให้อยู่คู่กับองค์การจะต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทั้งองค์กร ไม่ใช่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการสร้างความรู้ในองค์การ คือ องค์จะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างความรู้ และเมื่อองค์การร่วมกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้ จะทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์การในที่สุด ดังนั้นองค์การใดที่มีการสร้างสรรค์ความรู้อย่างไม่หยุดยั้งจะเป็นแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ในองค์การต่อไป

6.จงอธิบายความหมายของการจัดการความรู้
ตอบ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

7.กระบวนการของการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง?
ตอบ ประกอบด้วย 6 ส่วน
1. การสร้างความรู้ (Create)
2. การจัดและเก็บความรู้ (Capture/Store)
3. การเลือกหรือกรองความรู้ (Refine)
4. การกระจายความรู้ (Distribute)
5. การใช้ความรู้ (Use)
6. การติดตาม/ตรวจสอบความรู้ (Monitor)

8.ดังที่ Brain Quiun กล่าวไว้ว่า “ การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ” ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร?
ตอบ เห็นด้วย เพราะเทคโนโลยีช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูล หรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทไม่มีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และจะเห็นได้ว่า ลำพังเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็ไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดสินค้า บริการ กระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ได้ เพราะทั้งหมดนี้จะมีอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จในการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ความสำเร็จในการจัดการความรู้จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว


สรุปบทที่ 11 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ปัจจุบันสมาชิกหลายส่วนในสังคมสมัยใหม่ได้เริ่มตระหนักถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนรูปของระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ชัดเจนกว่าอดีต นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อการทำกิจกรรม และต่อความสัมพันธ์ของภาคธุรกิจทั้งในระดับองค์การ กลุ่ม และบุคคล โดยเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การดำเนินงานขององค์การสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจเป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศทางธุรกิจออกเป็นระบบย่อยดังต่อไปนี้
*ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี
*ระบบสารสนเทศด้านการเงิน
*ระบบสารสนเทศด้านการตลาด
*ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
*ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล
ปัจจุบันผู้จัดการด้านต่างๆของธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การผลิต หรือทรัพยากรบุคคลต่างต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในการดำเนินงานมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริหารที่ขาดทักษะด้านสารสนเทศจะเสียโอกาสในการพัฒนาตนเองและหน่วยงาน ดังนั้นบุคคลที่ต้องการความสำเร็จในอนาคตต้องติดตาม และคาดการณ์แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทัน

แบบฝึกหัดบทที่ 11
1.เหตุใดผู้บริหารระดับสูงสมควรต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ เพื่อได้มีความพยายามเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ สร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การและผู้บริหารสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
2.จงอธิบายขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ?
ตอบ ขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ คือ การกำหนดกลยุทธ์, กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การ, ปริมาณโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศและกำหนดรายละเอียดดำเนินงาน
3.ระบบสารสนเทศด้านบัญชีมีลักษณะอย่างไร และสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอย่างไร?
ตอบ มีลักษณะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศ และมีความสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคือมีการจัดสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และจะประมวลผลสารสนเทศ
4.ระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีหน้าที่อะไรบ้าง?
ตอบ มีหน้าที่ที่สำคัญ 3 ประการคือ
1.การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ
2.การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับรายจ่าย
3.การควบคุมทาการเงิน (Financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
1.การควบคุมภายใน (Internal Control)
2.การควบคุมภายนอก (External Control)

5.ระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดมีอะไรบ้าง?
ตอบ ระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดมี 8 ระบบดังนี้
1.ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย
2.ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
3.ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
4.ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
5.ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย
6.ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
7.ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
8.ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย
6.เราสามารถหาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการผลิตและการดำเนินงานขององค์การได้จากแหล่งใดบ้าง? จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ 1.ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน(Production/Operations Data)เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจัยของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหา และการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
2.ข้อมูลสินค้าคงคลัง(Inventory Data)บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
3.ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ(Supplier Data)เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติและราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่องทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange)หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยในการประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.ข้อมูลแรงงานและบุคลากร(Labor Force and Personnel Data)ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
5.กลยุทธ์องค์การ(Corporate Strategy)แผนกกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่แบบและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
7.ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุหรือ MRP คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร?
ตอบ MRP คือระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุ เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมคือ ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต,ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ เป็นต้น
8.ข้อมูลจากแผนกกลยุทธ์ขององค์การเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจอย่างไร?
ตอบ สามารถทำให้การผลิตและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมาก
9.เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไร?
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในเรื่องการดำเนินงานช่วยให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
10.จงยกตัวอย่างความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ?
ตอบ การตัดสินใจในเรื่องของค่าจ้างและสวัสดิการ

สรุปบทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ
หัวใจสำคัญในการธำรงอยู่ขององค์การธุรกิจ คือ ธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืน และสามารถดำเนินการแข่งขันกับคู่แข่งอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลให้องค์การธุรกิจต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอกจนการรักษาพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และสามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงในสังคม ซึ่งเราเรียกวิธีนี้ว่า “การดำเนินเชิงกลยุทธ์”
ปัจจุบันเราสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การในหลายระดับตั้งแต่การปฏิบัติงานประจำวัน การจัดทำและนำเสนอสารสนเทศแก่ผู้บริหาร จนกระทั่งถึงการดำเนินงานในระดับกลยุทธ์ขององค์การ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น
*การกำหนดโครงสร้างและการดำเนินงานขององค์การใหม่
*การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างองค์การกับลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และพันธมิตรธุรกิจ
*การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและการให้บริการ
*การเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันและการเป็นพันธมิตร
*การส่งเสริมศักยภาพในด้านการตัดสินใจละการทำงานกลุ่ม
*การสร้างความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าหรือล้มเหลว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงบทบาทสำคัญ นอกเหนือจากการสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีส่วนในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นผู้บริหารสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงานอย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างผลงานให้แก่ตนเองแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่องค์การด้วย

แบบฝึกหัดบทที่ 12
1. เหตุใดองค์การส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศจากความต้องการการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากกว่าความต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์?
ตอบ เพราะการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดีจะทำให้องค์การมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่างๆได้ และอาจจะทำให้องค์การได้เปรียบคู่แข่ง ในด้าน

2.ความได้เปรียบทางการแข่งขัน(Competitive Advantage) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง?
ตอบ แก่นของความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจภาคเอกชน กลยุทธ์ในการแข่งขันก็คือการค้นหาความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมตลาด หรือการได้กำไรที่มากกว่าที่บริษัทอื่นทำได้ตามปกติ กลยุทธ์เช่นนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้บริษัทสามารถได้กำไรได้อย่างยั่งยืนเหนือกว่าคู่แข่ง เมื่อบริษัทคู่แข่งรู้จักใช้ไอทีเหมือนกับเราก็จะทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะรักษาความได้เปรียบเอาไว้ได้ตลอดไป การเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอาจทำให้คู่แข่งขันสามารถพัฒนาระบบใหม่ ๆ ได้ในเวลาอันสั้นและทำให้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเมื่อปีก่อนกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปได้ โดยปกติแล้วระบบสารสนเทศจะไม่สามารถช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนได้
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ประกอบปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ดอกเบี้ยและน้ำมันมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น การหลั่งไหลของสินค้าจากประเทศจีน เป็นต้น ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์ที่ดี ที่จะสามารถ แข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้

3.องค์การจะสามารถธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะด้านสารสนเทศอย่างไร?
ตอบ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถ ปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของ แต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations) เพื่อพัฒนาและธำรง รักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Abilety)ขององค์การ การประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สอดรับกัน (Harmony)ระหว่างโครงสร้างองค์การ กลยุทธ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนสูง

4.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ?
ตอบ โครงสร้างขององค์การธุรกิจสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ ซึ่งประกอบไปด้วยฐานข้อมูลต่าง ๆ ขึ้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างในประเทศไทยและสหรัฐ?
ตอบ ผู้บริหารไทยไม่ด้อยกว่าด่างชาติ ขอเพียงแต่ผู้บริหารไทยศึกษาหาความรู้ในนวัตกรรมใหม่ๆ (New Innovation) และศึกษาการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ

6.ผู้บริหารสมควรทำอย่างไร เพื่อให้ทราบความต้องการด้านสารสนเทศขององค์การในอีก 5 ปีข้างหน้า?
ตอบ องค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถยู่ปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
7.จงอธิบายบทบาทของผู้บริหารระดับสูง ที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ?
ตอบ บริหารระบุความต้องการ สารสนเทศ ได้ชัดเจน และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
1. ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ในการออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
2. ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการ ต่อเชื่อม ระหว่าง หน่วยงาน ทั้ง ภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดความ รู้สึกที่ดีต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจาก นี้ผู้บริหาร
3.ผู้บริหารต้องวางแผน ความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอด คล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ

8.เหตุใดองค์การจึงต้องกำหนดความต้องการก่อนและหลังด้านสารสนเทศ?
ตอบ เพื่อให้ทราบว่าองค์การต้องการอะไร เป้าหมายขององค์การเป็นอย่างไร เพื่อที่จะวางแผนและปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมาย

9.เราสามารถประเมินคุณภาพของการดำเนินการด้านสารสนเทศในแต่ละองค์การได้อย่างไร?
ตอบ - พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงหรือไม่
- พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือหรือไม่
- พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด

10.เหตุใดธุรกิจจึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการด้านสารสนเทศขึ้น เพื่อทำการตัดสินใจในงานสำคัญด้านสารสนเทศขององค์การ?
ตอบ เพราะจะได้บุคลากรที่มีความรู้ในงานเฉพาะด้าน และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น


สรุปบทที่ 13พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ ที่ช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง ซึ่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงเป็นการดำเนินการธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
การจำแนกประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้ 4 ลักษณะดังนี้ ธุรกิจกับธุรกิจ(B2B), ธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C), ธุรกิจกับรัฐบาล(B2G) และผู้บริโภคกับผู้บริโภค(C2C) ส่วนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งได้ 6 รูปแบบดังนี้ รายการสินค้าออนไลน์ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ การประกาศซื้อ-ขายสินค้า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
การทำการค้าบนโลกอินเทอร์เน็ตมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากการค้าขายทั่วๆไป ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปดังต่อไปนี้
-การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
-การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
-การให้บริการได้ตลอด24 ชั่วโมง
-การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
-การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
-การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
-โครงข่ายเศรษฐกิจ
-การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
การที่องค์การจะนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานเพื่อสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้เพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น ส่วนข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ความน่าเชื่อถือต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีความแน่นอน ต้นทุนในการพัฒนาค่อนข้างสูงหรือลูกค้ายังไม่สามารถเชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า เป็นต้น
ส่วนหลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างจากหลักการตลาดทั่วไป ซึ่งเรียกว่าหลักการตลาด6Ps ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย การรักษาความเป็นส่วนตัว และการให้บริการแบบเจาะจง อีกทั้งยังพบปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดต่างๆในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพบว่ารัฐบาลควรมีมาตรการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างรีบด่วน เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทำการค้าด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นใจ นอกจากนี้ต้องมีกฎหมายรัดกุมและต้องส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมความรู้ทางด้านสารสนเทศด้วย

แบบฝึกหัดบทที่ 13
1.จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ เป็นการดำเนินการธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2.เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง
ตอบ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยทรงเสริม และเพิ่มช่องทางให้กับธุรกิจ ซึ่งแฝงไปด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อมสำหรับผู้ประกอบการ
3.ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ สามารถจำแนกได้ 4 ลักษณะดังนี้ ธุรกิจกับธุรกิจ(B2B), ธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C), ธุรกิจกับรัฐบาล(B2G) และผู้บริโภคกับผู้บริโภค(C2C)
4.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร
ตอบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์มีข้อแตกต่างจากการดำเนินการทั่วไปดังนี้
1. เพื่อประสิทธิภาพและระสิทธิผล
2. การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
3. ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
4. ควบคุมและปฎิสัมพันธ์ได้ด้วยตัวเอง
5. สร้างร้านค้าเสมือนจริง
6. ช่วยติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค
7. ส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
8. สร้างโครงข่ายเศรษฐกิจ
5.หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ประกอบด้วย
1.ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตรงตามความต้องการของลูกค้า
2.ราคา ควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับตลาดและผู้บริโภค
3.ช่องทางการจัดจำหน่าย หาทำเลการค้าที่ดี
4.การส่งเสริมการขาย กระบวนการที่จะทำให้ขายสินค้าได้มาก เช่น การลด แลก แจก แถมสินค้า เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า
5.การรักษาความเป็นส่วนตัว คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ผู้ดูแลเว็บไซต์จึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกจารกรรมออกไปได้
6.การให้บริการแบบเจาะจง เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้
6.จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสาร
7.จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ ความน่าเชื่อถือต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีความแน่นอน ต้นทุนในการพัฒนาค่อนข้างสูงหรือลูกค้ายังไม่สามารถเชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า
8.ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ปัญหาในเรื่องของผู้ประกอบการ
2. ปัญหาในเรื่องของบุคลากรยังไม่มีความพร้อม
3. ปัญหาในเรื่องของการตลาด
4. ขาดความเชื่อมั่นในผลตอบแทนที่จะได้รับ
5. ปัญหาในเรื่องของความเชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัย
6. ความเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อของธุรกิจ ว่าจะได้สินค้าที่มีคุณภาพตามความต้องการ
7. ค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ตและค่าบริการสื่อสารยังมีราคาแพง
8. กลุ่มเป้าหมายทางการค้าหรือประชาชนนั้นยังขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
9. ผู้ประกอบการยังกังวลกับกฎหมายที่รองรับการประกอบการ

สรุปบทที่ 14 แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การดำเนินชีวิตในสังคมสารสนเทศจะมีการพัฒนาและนำเทคโนโลยีระดับสูงมาสนับสนุนการทำงานและการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยนี้จะพัฒนารวดเร็วกว่าสมัยอุตสาหกรรมมาก ข้อมูลและข่าวสารจะมีการเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วและอิสระ พรมแดนทางการเมืองจะลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจการค้าที่ขยายตัวสู่ระดับโลกในที่สุด ประชาชนจะมีความเป็นอิสระในการรับรู้ข่าวสารและขั้นตอนการทำงาน โดยที่หลายหน่วยงานมีการลดขนาดลง บางหน่วยงานศึกษาถึงการปรับตัวให้มีขนาดที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งการรื้อปรับระบบ เพื่อให้สามารถดำเนินงานแข่งขันธุรกิจอื่นอย่างคล่องตัว
ความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถมองข้ามหรือปล่อยให้หัวหน้างานหรือหน่วยงานสารสนเทศดูแลรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายและการใช้งานเทคโนโลยีเพียงฝ่ายเดียวประกอบกับการกระจายตัวของการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในหน่วยงานต่างๆทำให้สมาชิกในองค์การมีความคุ้นเคยและเข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น จึงต้องมีการกำหนดทิศทางการจัดการเทคโนโลยีร่วมกัน ซึ่งต้องได้รับการเริ่มต้นและส่งเสริมจากผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเข้าใจเทคโนโลยีที่มีต่ออนาคตขององค์การ โดยติดตามข่าวสารข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเทคโนโลยี นอกจากนี้การจัดตั้งคณะกรรมการสารสนเทศขององค์การจากบุคคลหลายกลุ่ม จะช่วยให้การกำหนดนโยบายด้นสารสนเทศขององค์การมีความชัดเจน แน่นอน และถูกต้องขึ้น

แบบฝึกหัดบทที่ 14
1.จงยกตัวอย่างการปรับตัวขององค์การในยุคสารสนเทศ
ตอบ 1.องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
2.มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการทำงาน
3.ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง
4.หลายหน่วยงานได้ปรับโครงสร้างขององค์การจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครงสร้างระบบเครือข่าย
2.เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหรือการรื้อปรับระบบขององค์การอย่างไร?
ตอบ เพื่อให้สามารถดำเนินงานและแข่งขันกับธุรกิจอื่นอย่างคล่องตัว
3.ผู้บริหารสมควรจะเตรียมความพร้อมในการนำองค์การเข้าสู่ยุคสารสนเทศอย่างไร?
ตอบ 1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การและในอนาคต
2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ

3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย

เราจะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศถูกใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การในหลายด้าน ตั้งแต่ การประมวลผลงานประจำวัน การตัดสินใจของผู้จัดการ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมรูปแบบใหม่ในการสื่อสารข้อมูล และการเพิ่มผลผลิตขององค์การ
4.เทคโนโลยีที่มีผลต้องการดำเนินงานขององค์การมีอะไรบ้าง?
ตอบ 1. ประโยชน์โดยตรง ปกติองค์การเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
2. ความยืดหยุ่น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานให้แก่องค์การ ส่งผลให้องค์การสามารถ พัฒนาและปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
3. ความสามารถในการแข่งขัน นอกจากการใช้งานตามประโยชน์โดยตรงแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ เพื่อให้องค์การสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และพัฒนาการดำเนินงาน ทั้งภายในและภายนอก องค์การได้เร็ว กว่าคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4. รายได้ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มรายได้แก่องค์การทั้งโดยตรงและทางอ้อม เช่น การรวบรวมและให้บริการและ ให้บริการด้านสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์การอื่น
5.ค่าใช้จ่าย ประโยชน์ประการสำคัญของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานปัจจุบันคือ การลดค่าใช้จ่าย และการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์การเช่น การประเมิน ผลข้อมูล การตรวจสอบ และการควบคุม ค่าแรงงาน เป็นต้น
6. คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ระบบผลิต
7. โอกาส ปัจจุบันความได้เปรียบด้านสารสนเทศได้สร้างความแตกต่างระหว่าง องค์การองค์การ ที่มีศักยภาพด้าน สารสนเทศ สูงย่อมสามารถนำความรู้มาประยุกต์ในการสร้างโอกาสในการดำเนินงานทั้งทาง ตรง เช่น การนำสารสนเทศมา ประยุกต์เชิงกลยุทธ์ และทางอ้อม เช่นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ
5.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีผลต่อการดำเนินงานขององค์การอย่างไร?
ตอบ ทำให้องค์การสามารถรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์การได้อีกด้วย
6.เทคโนโลยี RISC มีผลต่อพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอย่างไร?
ตอบ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (Very Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์
7.จงอธิบายความหมายและประโยชน์ในการใช้งานของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ตอบ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
การใช้งาน
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดเค้าร่าง (schema) ที่ต้องการสำหรับการอธิบายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการบริการ โดยให้สารสนเทศเกี่ยวกับการบ่งชี้ ขอบเขต คุณภาพ เค้าร่าง เชิงพื้นที่และเชิงเวลา การอ้างอิงเชิงพื้นที่ การเผยแพร่ของสารสนเทศภูมิศาสตร์เชิงเลข
8.เหตุใดผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ?
ตอบ เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา
9.ปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมสารสนเทศเพียงไร โดยเฉพาะความรู้และความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ สังคมส่วนใหญ่เกือบทุกสังคมในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และนับถือสังคม “เปิด” ที่ประชาชนมีความสนใจและมีการบริโภคข่าวสารในอัตราสูง และในปัจจุบันสื่อสารมวลชนก็ยังมีเสรีภาพที่ค่อนข้างจะเต็มเปี่ยม เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงกับไทย ที่จัดว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่สังคมเปิดของไทยจะยังสมบูรณ์เต็มที่ไม่ได้ หากกลไกของรัฐ ยังไม่สามารถจะขจัดอุปสรรคที่ยังมีเหลืออยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้มีการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปของราชการแก่สาธารณชนได้อย่างเปิดเผยและเสรีเต็มที่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น ความรู้ ซึ่งหมายถึง สารสนเทศผนวกกับทักษะประสบการณ์ของบุคลากร ความรู้จะเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มขององค์การ ที่พร้อมจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในองค์การ ในการบริหารความสำเร็จจำเป็นต้องขยายผลจากการทำให้วิสัยทัศน์มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความกระตือรือร้นขององค์กรในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ และเพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อเกิดความก้าวหน้าในการดำเนินกิจการไปสู่เป้าหมายร่วมกันขององค์การ ประสิทธิภาพ ประสิทธิ ผลขององค์การ ขึ้นกับความสามารถของบุคลากรในองค์การ ในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์ แนวคิด เทคนิคการดำเนินงาน นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน ภายในองค์การ เราต้องสร้างตัวเร่งในขับเคลื่อนให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน เอื้ออำนวย ดังนั้นความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์การให้ก้าวไปข้างหน้า สำหรับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงขึ้นอยู่กับเราท่านลูกพ่อขุนทุกคน
10.จงยกตัวอย่างปัญหาด้านจริยธรรมหรือความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ 1.ความเป็นส่วนตัง (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ข้อมูลสำหรับส่วนบุคคล และเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์โดยทังไปชาวอเมริกันถือว่าในเรื่อสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวมากโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารต่างๆหากไม่ได้รับอนุญาตแล้วจะเข้ามาสังเกตและเรียกใช้ข้อมูลไม่ได้ทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่ถือว่าเป็นความลับส่วนบุคคลทีเดี่ยวซึ่งตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยกว่าชาวอเมริกันมาก
2.ความถูกต้อง (Accuracy) การทำงานในองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ การเก็บฐานข้อมูลไว้ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้อาจจะเก็บรวบรวมข้อมุมูลที่ไม่ถูกดต้อง หรือมีการแอบเข้ามาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก็ได้
3.ความเป็นเจ้าของ(Property)เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแพร่กระจายไปได้ในรูปของสื่อสารแบบต่าง ๆ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลและโปรแกรมอย่างถูกต้องนั้นยังเป็นคำถามที่ยาต่อการตอบในเชิงจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้มีผลคุ้มครองต่อความถูกต้องของวิชาชีพและนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถึงแม้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาของเขาจะมีลักษณะแตกต่างจากทรัพย์สินชนิดอื่น ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ อย่างไรก็ตามการพิจารณาในเรื่องข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้มักเป็นเรื่องที่ชี้ชัดให้เกิดความกระจ่างได้ยาก
4.การเข้าถึงข้อมูล(Access)ธรรมชาติขิงผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้ข้อมูลนั้นจะพิจารณาถึงความสามารถที่ใช้คือเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรมาใช้ได้อย่างเหมาะสมซึ่งข้อมูลจะถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในระดับที่แตกต่างกันไปข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการแข่งขันจำเป็นต้องใช้รหัสพิเศษก่อนที่ผู้ใช้จะมีสิทธิใช้งานและสามารถใช้ได้อย่างจำกัดดังตัวอย่างบริษัทที่มีประวัติข้อมูลลูกค้าทั้งในอดีตและปัจจุบันเจ้าของบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้าเหล่านั้นหรือไม่และบริษัทดังกล่าวจะขายรายชื่อลูกค้าพร้อมกับรายละเอียดส่วนตัวให้กับบริษัทอื่นได้หรือไม่คำถามเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผุ้ครอบครองข้อมูลทั้งสิ้น

วิเคราะห์ข่าว i phone 4s


ข่าวเรื่อง การงดจำหน่าย iPhone 4ในประเทศจีน ว่าเหตุผลใดจึงไม่มีการวางจำหน่ายในวันเวลาที่กำหนดและจะเกิดอะไรขึ้นภายหลังจากนี้ให้วิเคราะห์
                 ในเวลานี้ที่ประเทศจีนได้เริ่มวางจำหน่าย iPhone 4อย่างเป็นทางการแล้วผ่านทางหน้าร้านApple Store ทั้ง 5 สาขาหลักทั่วประเทศ ซึ่งปรากฏว่าผลตอบรับออกมาดีเกินคาดหากพิจารณาจากจำนวนผู้คนล้นหลามที่มาต่อคิวรอเข้าแถวซื้อ iPhone 4กันยาวเหยียดทั้งอาตี๋อาหมวยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหล่าพ่อค้ามืดชาวจีนทั้งหลายที่ก็แห่ไปรอเข้าคิวซื้อ iPhone 4อย่างคลาคล่ำเพื่อหวังที่จะนำ iPhone 4ไปขายในภายหลังด้วยราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิมอย่างไรก็ตามเรื่องไม่เป็นเรื่องก็เกิดขึ้นจนได้ที่หน้าร้าน Apple Storeสาขากรุงปักกิ่งที่ปรากฏว่าเหล่าพ่อค้าเครื่องหิ้วและคนที่มารอต่อคิวซื้อ iPhone 4S ทั่วไปเกิดมีปากเสียงกันขึ้นด้วยกลัวว่าพวกพ่อค้าหน้ามืดนี้จะฉวยโอกาสซื้อ iPhone 4S แหลกลาญจนไม่เหลือให้กับผู้ใช้งานทั่วไปเช่นเดียวกับการพยายามแซงคิวโดยอาศัยอิทธิพลของกลุ่มพ่อค้ามืด iPhone 4S เหล่านี้ จนเรื่องราวเริ่มเลวร้ายขึ้นไปถึงขนาดมีการทำร้ายร่างกายกันเพื่อแย่งคิวซื้อ iPhone 4S ซึ่งส่งผลให้ Apple Store สาขากรุงปักกิ่งตัดสินใจยุติการจำหน่าย iPhone 4S เป็นการชั่วคราว
วิเคราะห์ข่าว
                 ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและเป็นประเทศที่มีการลอกเลียนแบบป็นจำนวนมาก ทำให้มีการมีความต้องการสินค้าดังกล่าวเป็นจำนวนมากเพื่อสนองความต้องการของตนเอง iPhone 4s เป็นสินค้าที่ยอดนิยมในขณะนี้จึงทำให้พ่อค้าในประเทศจีนมีความต้องการมากทำให้มีการทะเลาะวิวาทกัน มีปากเสียงกัน อย่างรุนแรงเพราะพ่อค้าบางกลุ่มกลัวว่าตนเองจะไม่ได้สินค้าดังกล่าวเพราะมีใช้อิทธิพลในการซื้อสินค้าดังกล่าว จึงต้องมีการปิดการจำหน่าย iPhone 4S ชั่วคราว

แบบฝึกหัดบทที่ 5 และ บทที่ 6


แบบฝึกหัดบทที่ระบบฐานข้อมูล
1. เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
    ตอบ 2 แบบ ดังต่อไปนี้
                1. การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Organization) เป็นวิธีการจัดเก็บและรวบรวมระเบียน (Record) ของข้อมูลมูลตามลำดับก่อนหลัง โดยจัดเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย โดยผู้ใช้จะต้องเรียกข้อมูลตามลำดับที่จัดไว้ วิธีการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับเหมาะกับงานที่มีระยะเวลาในการประมูลผลค่อนข้างแน่นอน และต้องใช้ข้อมูล ปริมาณมากในการประมวล ซึ่งการจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับมีข้อดีดังต่อไปนี้
                    - ช่วยให้งานออกแบบแฟ้มข้อมูลง่าย
                    - สะดวกต่อการออกแบบและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการประมวลผลข้อมูลในปริมาณมาก
                    - ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์
                    - เสียเวลาในการดำเนินงาน
                    - ข้อมูลไม่ทันสมัยหรือไม่เป็นไปตามความจริง
                    - ต้องจัดลำดับข้อมูลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะมีการนำไปแก้ไขแฟ้มข้อมูล
                 2. การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Randon File  Organization) เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มทำให้การใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลไม่มาก นอกจากนี้การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อดีดังต่อไปนี้
                    - การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว
                    - สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
                    - มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ
                    - ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย
                    - การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ
                    - มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง
2. จงอธิบายความหมาย ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
    ตอบ  การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Randon File  Organization) เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มทำให้การใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลไม่มาก นอกจากนี้การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อดีดังต่อไปนี้
                    - การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว
                    - สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
                    - มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ
                    - ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย
                    - การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ
                    - มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง
3. ฐานข้อมูลคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
    ตอบ ฐานข้อมูล (Database) หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
    ตอบ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
                1. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น
                2. แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย
                3. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์
5. จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท
    ตอบ  1. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น มีประโยชน์แสดงโครงสร้างข้อมูลที่มีมีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลาย
             2. แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย มีประโยชน์เป็นแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกว่าแบบจำลองเชิงลำดับขั้น
             3. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์ มีประโยชน์ในการจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบตาราง 2 มิติ ซึ่งแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์แสดงความสัมพันธ์ที่อยู่ในตารางเดียวกัน หรือตารางที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกด้วย
6. ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
    ตอบ ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems DBMS) หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล คัดเลือกข้อมูล และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ กับหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่ง DBMS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
            1. ภาษาสำหรับนิยมข้อมูล
            2. ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล
            3. พจนานุกรมข้อมูล
7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
     ตอบ พจนานุกรมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่จัดเรียบเรียงความหมาย และอธิบายลักษณะที่สำคัญของข้อมูลในฐานข้อมูลที่เข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและระเบียบ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้าและนำไปใช้อ้างอิงในอนาคต เนื่องจากอาจมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เปลี่ยนแปลงผู้บริหารฐานข้อมูล หรือเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต โดยพจนานุกรมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการข้อมูล เพราะจะช่วยให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใจระบบได้ง่ายขึ้น
8. นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง
    ตอบ 1. กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
             2. พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยฐานข้อมูล
             3. จัดทำหลักฐานอ้างอิงของระบบฐานข้อมูล
             4. ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
             5. ประสานงานกับผู้ใช้
9. เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ (CIO) และ CIO มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร
    ตอบ ปัจจุบันหลายองค์การได้มีการจัดหน่วยงานทางด้านฐานข้อมูลขององค์การขึ้นตรงต่อผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบด้านสานสนเทศ เช่น รองประธานบริษัท ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้างานด้านสารสนเทศ
10. จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศฐานข้อมูลในอนาคต
      ตอบ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย
แบบฝึกหัดท้ายบทที่6
1. ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ เทคโนโลยี การสื่อสารมีส่วนช่วยให้การดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยให้การส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรสาร โทรศัพท์ อีเมล์โทรทัศน์และอื่นๆ
2. ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
ตอบ ระบบเครือข่ายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ
1. LAN (Local Area Network)
ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ
2. MAN (Metropolitan Area Network)
ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก
3. WAN (Wide Area Network)
ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)
4.ระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือดาวเทียม
3. ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) และระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ (WAN)มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ (LAN) การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้ (WAN) การเชื่อมโยงระยะไกล
LAN คือระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เป็นระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ใช้เชื่อมต่อกันในระยะไม่ไกลมากนักโดยปกติมักเชื่อมต่อกันในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตรคือเป็นระบบเน็ตเวิร์กที่อยู่ภายใต้อาคารเดียวกันหรือต่างอาคารในระยะใกล้ๆ โดยมีการเดินสายเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นของตนเอง
WAN คือ ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่มีการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ หรือติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกผ่านเครือข่าย Internet ที่ต้องมีการเข้ารหัสพิเศษหรือทำให้เป็นเน็ตเวิร์กส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network)
4. จงเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ ช่องทางการติดต่อสื่อสารมีหลายช่องทาง ซึ่งแต่ละช่องทางจะให้คุณสมบัติและประสิทธภาพแตกต่างกันไป เช่นการสื่อสารแบบมีสาย และไร้สาย
5. รูปแบบของเทคโนโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ รูปแบบของเทคโนโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่
1.แบบดาว (Star)
2 แบบวงแหวน (Ring)
3 แบบบัส (Bus)
4.แบบผสม
6. ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้าง
ตอบ ช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด
1.ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pairWire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable)
2.ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์

7. สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพน์ สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
- สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500MHz สายโคแอกเชียลมีความเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
- สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)
สาย สัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
8. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญาณแบบแอนะล็อก กับสัญญาณแบบดิจิตอล
ตอบ 1. สัญญาณแบบแอนะล็อก (Analog Signal) จะ เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆ ค่า ที่เปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมาย การส่งสัญญาณแบบนี้จะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากค่าทุกค่าถูกนำมาใช้งาน ซึ่งสัญญาณแบบแอนะล็อกนี้จะเป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสารส่วนมากใช้ อยู่เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
2. สัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Signal) จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุด และสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบอนาลอกเนื่องจากมีการใช้งานค่าสองค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on/off หรือ0/1 เท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน